เมนู

แจกปฏิสัมภิทา 4 ด้วยอกุศลจิต 12


[785] ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้
แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบาก
แห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อม
มีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา.
บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้น
ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิด
ขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต
สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส
สัมปยุตด้วยปฏิฆะ. เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วย
อุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัม-
ภิทา.
ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.
บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม-
นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉาน ซึ่งญาณเหล่านั้น
ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ
ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา 3 ด้วยอเหตุกกุศลวิบากจิต 8


[786] ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?